
ประวัติพระสุธรรมาธิบดี ผู้อำนวยการมูลนิธิหลวงปู่แบน
เดิม พระธรรมวราจารย์ หรือ หลวงปู่แบน กิตฺติสาโร ปัจจุบันดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะ ภาค 161718 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รักษาการเจ้าอาวาสวัดสิรินธรเทพรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์ และยังทํางานพัฒนาและสงเคราะห์ประชาชนตลอดเวลา
นามเดิม แบน นามสกุล อุปกลิ่น เกิดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2471 บิดาชื่อ นายปั้น มารดาชื่อ นางมะลิ เกิด ณ บ้านเกาะจาก ตําบลเกาะทวด อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อายุ 20 ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเกาะจาก โดยมีพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฐาภรณเถระ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค) เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูถาวรศิลวัฒน์(เจริญ ถาวโร) เป็นพระศีลาจารย์ อุปสมบทเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ณ วันนั้นผู้เข้ามาอุปสมบทพร้อมกันจํานวน 31 รูป ได้รับอุปสมบทชุดที่ 14 ได้ศีกษาพระปริยัติธรรม
ปลายปี พ.ศ. 2491 เข้าสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง ในสนามสอบรวม ต้องแจวเรือไปปากพนังเป็นเวลา 6 ชั่วโมง พัก ณ วัดรามประดิษฐ์ 4 คืน เมื่อสอบ 4 วันเสร็จแล้ว เดินทางกลับโดยเปลี่ยนกันแจวเรือ ต่อมาท่านมีความคิดว่าจะไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ตั้งใจเลือกอยูวัดบวรนิเวศวิหารเป็นสํานักที่อยูที่เรียน แม้ว่าอาจารย์จะบอกว่าเข้ายากระเบียบมาก แต่ท่านไม่ท้อ ท่านเตรียมพร้อมเพื่อรับกฎและระเบียบของวัด เช่น ท่องจําปาติโมกข์ได้หมดภายใน 1 เดือน จึงเดินทางมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2492
ท่านเล่าวา การเดินทางสมัยนั้นลําบากแค่ไหน จากนครศรีธรรมราช กว่าจะถึงกรุงเทพฯ ต้องเดินทางโดยทางเรือ ใช้เวลาเดินทาง 7 วัน 7 คืน ถึงกรุงเทพฯ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 โดยนั่งรถสามล้อจากท่าเรือถึงวัดบวรนิเวศวิหาร จึงเข้าไปกราบพระมหาจับ อุคฺคเสโน(พระธรรมรัชมงคล) พักกับท่านได้ 7 วัน ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นวันที่รัฐบาลได้อันเชิญพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 7 ประดิษฐาน ณ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ท้องพระโรง พระที่นังจักรีมหาปราสาท และท่านได้นิมนต์ไปด้วยในฐานะอาคันตุกะ เนื่องจากพระสงฆ์ไม่พอ ได้เห็นพระบรมมหาราชวังครั้งแรก รู้สึกงงงวย ทึ่งในความงดงาม
ได้เข้าพระราชวังครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2511 ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 36 พรรษา ขณะนั้นเป็นพระ “โศภนคณาภรณ์” แล้ว แต่ท่านไม่ได้อยูวัดบวรฯ เพราะทางวัดยังไม่รับพระเข้ามาอยูใหม่ พระมหาจับ (พระธรรมรัชมงคล) จึงพาไปฝากวัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี ขณะที่อยูวัดเขมาภิรตาราม ก็ยังตั้งใจทบทวนพระปาติโมกข์และท่องสวดมนต์เพื่อเตรียมตัวเข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2493 ก็เดินทางจากวัดเขมาภิรตาราม มาวัดบวรนิเวศวิหาร ทางวัดให้พระมหามณีเป็นผู้ซ้อมสวดพระปาติโมกข์และสวดมนต์ กำชับว่าต้องให้จบภายใน 1 เดือน แต่ท่านสามารถสวดซ้อมภายใน 20 วัน ก็จบตามหลักสูตร ตั้งแต่นั้นจึงนําขึ้นถวายตัวแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และไปกราบกรรมการวัดทุกรูป ภายใน 15 วัน สามารถจะรู้จักกับพระภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหารหมดทุกรูป
เมื่อเข้ามาอยูวัดบวรนิเวศวิหารได้สมปรารถนา ก็เรียนตามที่ตั้งใจ ได้สมัครเข้าเรียนภาษาบาลีและนักธรรม จนสอบนักธรรมชั้นเอกได้ แต่กว่าจะสอบได้เป็น “มหาแบน” ใช้เวลาเกือบ 10 ปี ท่านสอบได้ในปี พ.ศ. 2498 จากนั้นก็เรียนที่สภาการศึกษา 10 ปี จบปริญญาตรี เมื่อจบแล้วได้ทํางานเป็นเสมียน ได้รับนิตยภัต (เงินเดือน) เดือนละ 130 บาท และทํางานในมหาวิทยาลัยสงฆ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 มาจนถึงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ก็ลาออก (นิตยภัต 1 หมื่นกว่าบาท) เมื่อมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารได้เป็นผู้ใกล้ชิด ทั้งได้เป็นผู้คํานวณการย้ายราศีของดวงดาวให้แก่พระพรหมมุนี (ผิน) ผู้เป็นโหราศาสตร์และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และทั้งยังมีความรู้เรื่องไฟฟ้าจาก 110 วัตต์ เป็น 220 วัตต์ จึงได้รับมอบหมายจากกรรมการวัดบวรนิเวศวิหารให้เป็นผู้ควบคุมการเปลี่ยนไฟฟ้าทั้งวัด กับทั้งมีความสามารถพิเศษคือการเขียนหนังสือสวย อะไรที่ต้องการเขียนด้วยลายมือต้องหลวงปู่เขียน เพราะลายมือเทียบได้กับอาลักษณ์สมณศักดิ์เป็นที่พระธรรมวราจารย์ ได้รับการไว้วางใจให้เขียนพระนามพระราชวงศ์ชั้นสูงจารึกในพระสุพรรณบัฏมาแล้ว
หลวงปู่มีผลงานด้านสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา และสาธารนูปการมีมากจนเหลือที่จะบรรยาย แม้กระทังการแปรญัติร่างพระราชบัญญัติยกฐานะมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง ทั้ง มมร (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) และ มจร (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) ท่านมีบทบาทมิใช่น้อย ท่านทํางานในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 –2541จนอายุ 72 ปี จึงเกษียณจากงาน
สรุปประวัติย่อ
เกิด : ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑
อายุ : ๙๒ ปี
อุปสมบท : ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑
พรรษา : ๗๓
มรณภาพ : ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
วัด : วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
ท้องที่ : กรุงเทพมหานคร
สังกัด : ธรรมยุติกนิกาย
วุฒิการศึกษา : น.ธ.เอก, ป.ธ.๕, ศน.บ., พธ.ด.(กิตติ์)
การศึกษา
นักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม ๕ ประโยค
ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.)
เกียรติคุณ
ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ตำแหน่ง
ฝ่ายปกครอง
พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๔๖ – ๒๕๕๐ เป็น รองเจ้าคณะภาค ๑๖ – ๑๗ – ๑๘ [1]
พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๖ – ๑๗ – ๑๘ (ธ)
งานเผยแผ่
หัวหน้ากำกับดูแลพระธรรมทูตประเทศอินโดนีเซีย
มรณกาล
พระสุธรรมาธิบดี (แบน กิตฺติสาโร ป.ธ.๕) มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สิริอายุได้ ๙๒ ปี พรรษา ๗๓
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็น เปรียญธรรม ๕ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็น พระครูปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ (พระครูปลัดของพระราชาคณะเจ้าคณะรอง)
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ [2]
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสุมนต์มุนี ศรีปริยัติธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [3]
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวราจารย์ พุทธิธรรมสารวิจิตร ศาสนกิจคุณาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [4]
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราจารย์ สุวิธานปริยัติบัณฑิต กิตติสารโสภิต ศาสนกิจคุณาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [5]
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระสุธรรมาธิบดี ปูชนียฐานประยุต มงคลวุฒคณาทร บวรศีลาจาร ศาสนภารธุราทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาส [6]
ที่มา : เว็บไซต์ sangkhatikan.com